วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  17 มีนาคม   2558

ครั้งที่ 10 เวลาเรียน  08:30 -  12:20

ความรู้ที่ได้รับ


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ                            

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

          เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุดการกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

-                    เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง  อย่างเช่นเรื่องพื้นฐานเล็กๆน้อยในชีวิตประจำวัน เช่น การผูกเชือกร้องเท้า การติดกระดุม
-                   อยากทำงานตามความสามารถ
-                    เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากการดูตัวอย่าง เช่นเด็กเห็นพี่ผูกเชือกร้องเท้า เด็กจะสังเกตและทำตาม และเมื่อเด็กทำได้เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจมาก

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

-                    การได้ทำด้วยตนเอง เช่น การผูกเชือกร้องเท้าถ้าเด็กทำได้ด้วยตนเองเขาจะรุ้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่เขาทำว่าสำเร็จ
-                    เชื่อมั่นในตนเอง
-                    เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง

-                    ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) 
-                    ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ในที่นี้คือสิ่งที่ผู้ใหญ่มองว่าเด็กทำได้ก็ไม่ควรจะทำให้เด็กมากเกินไป
-                    ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-                  หนูทำช้า   หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่

-                    เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-                    หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-                    เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-                    มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

-                    แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-                    เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม การย่อยงาน

-                    เข้าไปในห้องส้วม
-                    ดึงกางเกงลงมา
-                    ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-                    ปัสสาวะหรืออุจจาระ                                                                          
-                    ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-                    ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-                    กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-                    ดึงกางเกงขึ้น
-                    ล้างมือ
-                    เช็ดมือ
-                    เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น

สรุป
-                ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-                    ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-                    ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-                    ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-                    เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมหลังเรียน

กิจรรมนี้ครูสามารถรู้นิสัยเด็กจากการใช้สี 

         -   ภาพของฉันสื่อถึงว่าเป็นคนเรียบร้อย มีระเบียบอยู่ภายใตัว  เป็นคนใจกว้าง





ประเมินหลังการเรียนการการสอน

อาจารย์

 เข้าสอนตรง แต่งกายสุภาพ บรรยายพร้องยกตัวอย่างทำให้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียน ทำให้นักศึกษาเกิดความผ่อนคลาย พร้อมที่จะรับความรู้ที่อาจารย์จะมอบให้

เพื่อน

 เข้าเรียนตรงต่อเวลา  เรียบร้อย  ตั้งใจ สนใจฟังที่อาจารย์บรรยาย 

ตนเอง

  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟัอาจารย์บรรยาย  เข้าใจเนื้อง่ายเมื่ออาจารย์ยกตัวอย่างให้เห็นได้อย่างชัดเจน



วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  10 มีนาคม   2558

ครั้งที่ 9 เวลาเรียน  08:30 -  12:20

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา

- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม 
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด

- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัดของเด็กอย่าไปจ้ำจี้จ้ำไชไม่งั้นเด็กจะรู้สึกเป็นปรมด้อย
- ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด(ข้อนี้สำคัญมากไม่ควรที่จะพูกกับเด็ก)
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา(เน้นสำหรับเด็กพิเศษ)

- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก



กิจกรรมหลังการเรียนการสอน

วิธีดำเนินกิจกรรม

1.     ให้จับคู่และให้ออกมารับกระดาษคู่ละ 1 แผ่น และสีคนละ 1 แท่ง
2.     ให้แต่ละคู่ใช้สีของตนเองวาดลงบนกระดาษเป็นเส้นตรง ตามจังหวะเสียงเพลงจนกว่าเพลงจะหยุด
3.     เมื่อเพลงหยุดให้นำสีมาระบายลงในช่องที่เป็นช่องปิดโดยแต่ละช่องให้มีสีต่างกัน

ในกิจกรรมนี้เด็กจะได้การผ่อนคลายด้านอารมณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูยังสามารถดูลักษณะนิสัยของเด็ก การมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กได้จากผงงานชิ้นนี้

ภาพผลงานในการทำกิจกรรม




การส่งเสริมทักษะทางภาษา

         ไม่ควรบอกให้เด็กพูดช้าๆ หรือว่า คิดก่อนพูด  ไม่เปรียบเทรียบเด็กกับเด็กคนอื่น ครูใช้เพลง นิทาน คำกล้องจองมาเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็ก เมื่อเห็นเด็กมีปัญหาครูควรจะเข้าไปถามและช่วยเด็กแก้ปัญหา

ประเมินหลังการเรียนการสอน

อาจารย์

  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพ มีกิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้ทำก่อนเข้าบทเรียนจึงทำให้นักศึษามีความตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น และในการบรรยายเนื้อหาอาจารย์จะยกตัวอย่างให้เห็นได้อย่างชัดเจน

เพื่อน

 เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ วันนี้เรียนรวมกัสองห้องเนื่องจากตอนบ่ายอาจารย์ติดธุระจึงทำให้เพื่อนในห้องคุยกันมากกว่าปกติ แต่ดดยรวมเพื่อนก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนได้เป็นอย่างดี

ตนเอง

 วันนี้ดิฉันเข้าเรียนช้าไปประมาณห้านาที ตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยายเนื้อหา ชอบกิจกรรมก่อนและหลังเรียนของอาจารย์เพราะเวลาทำรู้สึกผ่อนคลาย






วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  3 มีนาคม   2558

ครั้งที่ 8 เวลาเรียน  08:30 -  12:20

ความรู้ที่ได้รับ


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1.         ทักษะทางสังคม(เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กพิเศษ)

-         ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-         การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

                      
 กิจกรรมการเล่น

-         การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-         ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

       
ยุทธศาสตร์การสอน

-         เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร   ( เด็กจะดูเพื่อนเลียนแบบเพื่อน )
-         ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ(เมื่อครูเห็นอะไรก็ควรจะบันทึกไว้อย่าให้พลาดเพราะสิ่งเหล่านี้จะนำมาเขียนแผน IEP)
-         จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-         ครูจดบันทึก
-         ทำแผน IEP (แผนเฉพาะบุคคล ไม่ใช่แผนที่ทำให้กับเด็กพิเศษเท่านั้น เด็กปกติก็สามารถทำได้)

 การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

-         ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน โดยจะแบ่งอัตตรา 1ต่อ3 คือในนกลุ่มเด็กปกติ 3 คนให้มีเด็กพิเศษเข้าร่วมเล่นด้วย 1 คน

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

-         เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น ให้ได้จำนวนครึ่งหนึ่งของเด็ก   ห้ามเกินครึ่ง

                             
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

-         เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง

ร              การบ้านในอาทิตย์นี้คือซ้อมร้องเพลง

ก                    
                    กิจกรรมหลังเรียน

      วัสดุอุปกรณ์ 
    

          1.กระดาษ
          2.สีเทียน
     
    วิธีดำเนินการ
       
         1.ให้นักศึกษาจับคู่กันและให้สีเทียนคนละหนึ่งแทงโดยให้นักศึกษาฟังเพลงโดยให้คนหนึ่งขีดเส้นไปตามเสียงเพลงเลื่อยๆและอีกคนก็จุดตรงที่มีวงกลมบนภาพไปตามเสียงเพลงเลื่อยๆ
             
                







เพลง ดวงอาทิตย์

ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์

ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลง ดอกมะลิ

ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ

เพลง กุหลาบ

กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน

ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู     จุ๊กกรู   จุ๊กกรู   จุ๊กกรู  จุ๊กกรู

เพลง รำวงดอกมะลิ

รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ  จริงเอย

ประเมินหลังการเรียนการสอน
อาจารย์

เข้าสอนตรงต่อเวลา  แต่งกายสุภาพ มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียนทำให้นักศึกษารู้สึกตื่นตัวและมีประสิทธิภาพในการเรียนมากขึ้น บรรยายเนื้อหาพร้อมยกตัวอย่างเข้าใจง่าย และทำให้เห็นถึงการนำไปใช้ได้จริงในอนาคต

เพื่อน

  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยาย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกอย่างเป็นอย่างดี

ตนเอง

 เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและจดบันทึกเพิ่มเติมในสิ่งที่อาจารย์แนะนำเพิ่มเติม