ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น , สัมมนา
- สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้
, มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็น “เด็ก” ถึงเด็กคนนั้นจะเป็นเด็กพิเศษก็ตามคนเป็นครูก็ต้องมองเด็กคนนั้นเป็นเด็กปกติทั่วไปเพื่อให้เกิดคาวมเท่าเทียมในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก
จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
- โอกาส(เด็กปกติมีโอกาสสูงกว่าเด็กพิเศษ)
การสอนโดยบังเอิญ
คือ การที่เด็กเข้ามาถามในสิ่งที่เขาสงสัย สิ่งที่เขาต้องการอยากรู้ และครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้ และครูควรจะทำให้การเข้ามาถามเรื่องต่างเป็นเรื่งสนุกทำให้เด็กกล้าที่จะเข้ามาปรึกษา
อุปกรณ
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
คือ ควรเป็นตารงที่มีความแน่นอนมั่นคงจะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก
และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท
เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้น
ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่
ยิ่งดีเท่านั้น”
- ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ
หลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น
การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า
หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
วันนี้อาจารย์สอนร้องเพลงทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้
เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
เพลง ผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฟรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด หน่อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์
เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี
เพลง ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดใส
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู
เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน
ประเมินหลังการเรียนการสอน
อาจารย์
มีการเตรียมการสอนได้พร้อม อธิบายพร้อมยกตัวอย่างเข้าใจง่าย เนื้อหาที่นำมาสอนในอาทิตย์นี้เยอะ แต่งการสุภาพ ยอมรับความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคน มีกิจกรรมให้ทำก่อนการเรียน สอนร้อเพลงที่สามมารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต
เพื่อน
เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยาย มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนโดยช่วยกันตอบคำถาม
ตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งฟังอาจารย์บรรยายแค่ในช่วงแรกๆเนื่องจากอาทิตย์นี้เนื้อหาเยอะ จึงมีบางช่วงที่ไม่ได้ฟังอาจารย์ ชอบกิจกรรมการวาดภาพก่อนเรียนเพราะทำให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนเรียน